ปรัชญาการศึกษาน่าค้นหา สาระน่ารู้ สู่เยาวชน
ความตั้งใจและเป็นทางการ และเป็นระบบ โดยมีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง คือ พระหรือนักปราชญ์ หรือนักวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบนั้น
คนในสมัยโบราณก็มีการให้การศึกษาแก่เด็กในสังคมของเขาเหมือนกัน แต่การให้การศึกษาของคนสมัยก่อนเป็นไปในลักษณะของการถ่ายทอดให้เกิดการเรียนรู้ใน
ชีวิตประจำวันโดยอัตโนมัติ เช่น การสอนการดำรงชีพ โดยการสอนการจับปลาและการเพาะปลูก รวมทั้งการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางสังคม เช่น พิธีศพ การศึกษาใน
ลักษณะดังกล่าวไม่ใช่การศึกษาแบบเป็นทางการ ไม่ใช่การศึกษาที่เป็นระบบ และไม่ใช่กระบวนการที่จงใจกระทำขึ้นเพื่อการเรียนรู้ จึงไม่มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่ง
ทำหน้าที่รับผิดชอบต่อเรื่องการศึกษาดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อมนุษย์ได้สะสมอารยธรรมมากขึ้น การถ่ายทอดและการเรียนรู้ให้กับอนุชนรุ่นหลังของสังคมไม่อาจเป็นไปในลักษณะไม่เป็นทางการดังเดิมได้ การศึกษาจึงต้องกลายมาเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องกระทำด้วยความตั้งใจและเป็นทางการ โดยมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งก้าวเข้ามาทำหน้าที่รับผิดชอบแทน กลุ่มบุคคล
กลุ่มนี้อาจจะเป็นพระ หรือนักปราชญ์ หรือนักวิชาการ
ผลจากการที่รวมการถ่ายทอดวัฒนธรรมไว้ในมือของคนกลุ่มพิเศษกลุ่มหนึ่ง ก็คือ คนกลุ่มนี้ได้พยายามทำให้วัฒนธรรมและความรู้ที่ต้องถ่ายทอดดีขึ้น บริสุทธิ์ขึ้น นั่นก็คือ การทำให้เกิดการค้นคว้าวิจัยทางด้านความรู้และวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น
ผลประการที่ 2 คือ กลุ่มบุคคลผู้รับผิดชอบกับการสอนเริ่มมองเห็นว่า การสอนหรือการถ่ายทอดวัฒนธรรมของเขา หรือการให้การศึกษาของเขาต้องสนองเป้าหมาย
บางอย่าง การศึกษาจึงไม่เป็นเพียงการรักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรมเท่านั้น แต่การศึกษาควรสนองตอบเป้าหมายบางอย่างนี้ด้วยเป้าหมายของการศึกษาควร
เป็นอะไร นี่แหละ คือ ปัญหาที่อยู่ในขอบเขตของนักปรัชญาที่จะให้คำตอบ ดังนั้น ปรัชญาการศึกษา คือ ปรัชญาในส่วนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหา เป้าหมายของ
การศึกษาของสังคมโดยพยายามตอบคำถามที่ว่า เป้าหมายหรือผลที่พึงประสงค์ที่จะก่อให้เกิดกับผู้เรียนนั้นควรจะเป็นอะไร ? และเป้าหมายดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ ? เมื่อตอบคำถามถึงเป้าหมายของการศึกษาเสียแล้ว ก็สามารถตอบคำถามต่อไปได้ว่า ความรู้ใด ทัศนคติใด ทักษะใด ควรได้รับการถ่ายทอดให้แก่เขาเหล่านั้น รวมทั้งมรรควิธีให้การศึกษาจะนำไปสู่เป้าหมายนั้นด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น