วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เส้นทางสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนของไทย ปี 2558





เส้นทางสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนของไทย ตอนที่ 1 เจรจา ทูตแห่งการเจรจา



 
 
 
 
เส้นทางสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนของไทย ตอนที่ 2 เจรจา พาตะลุยอาเซียน
 
 
 
 
 
 
 
เส้นทางสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนของไทย ตอนที่ 3 มุ่งหน้าสู่ AEC
 
 
 
 
 
 
 
เส้นทางสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนของไทย ตอนที่ 4 ประตูสู่ AEC ปี 2558
 


วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โน๊ตความรู้

การจัดการศึกษาเป็นการพัฒนาตัวผู้เรียน เพื่อเอาไปใช้ประโยชน์จริงในชีวิตของเขา เพื่อไปพัฒนาสังคมให้ได้ พัฒนาตนเองให้ได้ เมื่อการศึกษาเป็นการพัฒนาตัวผู้เรียนสามารถพัฒนาได้สูงสุดเท่าไร อันนั้นก็คือความดีงาม

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

นอนดึก นอนน้อยทำให้เด็กสมองทึบ

ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอนของอังกฤษ กล่าวเตือนพ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหลายว่า อย่าปล่อยให้ลูกหลานที่ยังเป็นเด็กนอนดึกและอดนอน เป็นอันขาด เพราะจะทำให้สมองทึบได้...

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้





หนังสือจินดามณี แบบเรียนเล่มแรกของไทย




    ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ชาวตะวันตกได้เริ่มเข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาชาวตะวันตกบางกลุ่มได้มีเจตนาที่จะนำพระคริสตธรรมเข้ามาเผยแพร่ในประชาคมอยุธยาด้วย พวกบาทหลวงได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักสำคัญ ๆ ในยุโรปให้มาเผยแพร่คริสต์ศาสนาและได้มีการจัดตั้งสำนักสอนพระคริสตธรรมและค่อยพัฒนามาเป็นโรงเรียน คือ เริ่มสอนพระคริสตธรรมแก่เยาวชนไทยควบคู่กับการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาไทยแก่เยาวชนไทยคณะบาทหลวงได้รับสิทธิเสรีในการจัดการสอนอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๑๓)
   
ถึงแม้ว่าเราจะไม่ทราบรายละเอียดในการจัดการเรียนการสอนในสมัยนั้นก็ตาม แต่ก็พออนุมานได้ว่า เด็กไทยจำนวนไม่น้อยที่สามารถเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศส จนสามารถใช้การได้อย่างดีและสามารถที่จะไปศึกษาเล่าเรียนที่ประเทศฝรั่งเศสได้ดังปรากฏหลักฐานในจดหมายราชทูตสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่มีพระยาโกษาธิบดีเป็นหัวหน้าคณะ ได้กล่าวฝากฝังนักเรียนไทยที่ศึกษาอยู่ที่กรุงปารีสซึ่งได้ไปศึกษาพร้อมกับคณะราชทูตไทยในครั้งนั้น






 การที่สำนักหมอสอนศาสนาเริ่มมีบทบาทในการเรียนการสอนหนังสือมากขึ้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงการเรียน การสอนภาษาไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์อยู่ไม่น้อยดังที่พยายามจัดทำแบบเรียนให้เป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการสอนหนังสือแก่เยาวชนไทย พระโหราธิบดีจึงได้แต่งแบบเรียนชื่อ “จินดามณี นับว่าเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย 


     หนังสือแบบเรียนจินดามณีเล่มนี้คงใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยต่อ ๆ มาในสำนักราชบัณฑิตและสำนักเล่าเรียนวัดจนได้ศึกษาเล่าเรียนกันอย่างกว้างขวางหนังสือจินดามณี เป็นหนังสือแบบเรียนเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพระโหราธิบดี กวีในสมัยพระนารายณ์มหาราช ได้เรียบเรียงไว้เป็นหนังสือตำราเรียนหนังสือไทยเนื้อหาของหนังสือว่าด้วย ระเบียบของภาษา สอนอักขรวิธีเบื้องต้นพร้อมอธิบายวิธีแต่งกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์

จินดามณีถูกใช้เป็นตำราเรียนจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนที่จะมีการปฏิรูปการศึกษาในสมัย ร.๕
 จินดามณีมีหลายฉบับ เช่น ฉบับโหราธิบดี ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท ฉบับพระเจ้าบรมโกศ ฉบับหมอบรัดเล เป็นต้น

จินดามณี ฉบับหมอบรัดเล เป็นหนังสือแบบเรียนที่ดร.แดน บีช บรัดเล มิชชันนารีชาวอเมริกันผู้ที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการพิมพ์ของไทย จัดพิมพ์เมื่อปี ๒๔๒๒ โดยคัดสรรมาจากตำราเรียนเก่าหลายเรื่อง และสอดแทรกเนื้อหาสำคัญที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยมาไว้ในเล่มเดียวกัน เช่น ประถม ก กา ว่าด้วยการใช้และสะกดตัวอักษร จินดามนี ว่าด้วยการประพันธ์โคลง เช่น โคลงสุภาพ ประถมมาลา เป็นตำราสั่งสอนวิชาหนังสือภาษาไทยให้ถูกต้องตามแบบจินดามณีปทานุกรม เป็นส่วนราชาศัพท์ ได้เพิ่มศัพท์กัมพูชาศัพท์ชวา เป็นต้น 
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

ประถมจินดามณี เล่ม
      หนังสือประถมจินดามณี เล่ม 1 ก็คือ จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีที่แต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมัยอยุธยาตอนปลายนั่นเอง ประถมจินดามณี เล่ม 1 ยังคงใช้เป็นหนังสือแบบเรียนที่สำคัญของสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ประถมจินดามณี เล่ม
      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงแต่งหนังสือประถมจินดามณี เล่ม ขึ้น เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชปรารภให้แต่งเพื่อใช้สอนพระราชโอรส และหมู่ข้าราชบริพารรวมเวลาตั้งแต่ทรงพระราชปรารภ จนทรงนิพนธ์เสร็จ ราว 6 เดือนเศษ (ธนิต อยู่โพธิ์ 2502,124) กรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงอธิบายว่า เป็นการแต่งซ้อนจินดามณีของเก่า จึงเติมชื่อให้เป็น จินดามณี เล่ม 2”
     ลักษณะการแต่ง การแต่งใช้ทั้งฉันท์ กาพย์ ร่ายและโคลง มีความเรียงอธิบายเป็นร้อยแก้ว
      
สาระสำคัญ เนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ
             1. กฎเกณฑ์ทางอักขรวิธี กล่าวถึงสระ พยัญชนะ ไตรยางค์ การแจกลูกทุกตัว อักษร ทุกแม่ตัวสะกด และแจกอักษรกล้ำ แล้วผันวรรณยุกต์ตามอักษรทั้ง 3 หมู่ การใช้เครื่องหมาย การแผลงอักษร
             2. การแต่งร้อยกรอง ขึ้นต้นด้วยร่ายสุภาพ แล้วอธิบายหลักการแต่งร้อยกรอง

  

การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 พ.ศ. 2475)

การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 พ.ศ. 2475) 



   การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
หลังจากที่พระองค์ได้ครองราชย์แล้ว ก็ได้ทรง ปรับปรุงประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน ทั้งในด้านการปกครอง การศาล การคมนาคมและสาธารณสุข เป็นต้น โดยเฉพาะด้านการศึกษานั้นพระองค์ได้ทรงตระหนัก เพื่อปรับปรุงคนในประเทศให้มีความรู้ความสามารถจะช่วยให้ ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน ปัจจัยที่มีผลในการปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้มีหลายปัจจัย เช่น
 (1) แนวคิดและวิทยาการต่างๆ ของชาติตะวันตก
 (2) ภัยจากการคุมคามของประเทศมหาอานาจ
 (3) ความต้องการบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ
 (4) โครงสร้างของสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลง
 (5) การที่พระองค์ได้เสด็จต่างประเทศทั้งในเอเชียและยุโรป








 การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา มีดังนี้
 (1) พระบรมราชโชบายในการปกครองประเทศ เพื่อให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ
 (2) พระองค์ทรงศึกษาวิชาการจากต่างประเทศ และเมื่อเสด็จกลับมาแล้วพระองค์ได้ทรงนาเอาแบบอย่างและ วิธีการที่เป็นประโยชน์มาใช้เป็นหลักในการปรับปรุงการศึกษา
 (3) ผลอันเนื่องจากการจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคนส่วนมากที่ได้รับการศึกษา มีความรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองประเทศในระบอบรัฐธรรมนูญในระบบรัฐสภา จึงมีความปรารถนาจะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตย และปัญหาอันเกิดจากคนล้นงานและคนละทิ้งอาชีพและถิ่นฐานเดิม มุ่งที่จะหันเข้าสู่อาชีพราชการมากเกินไป







 การจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาในสมัยนี้มีดังนี้
(1) ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นภายในประเทศ มีกลุ่มผู้ตื่นตัวทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีการวิพากษ์วิจารณ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช (2) ปัญหาสืบเนื่องจากอิทธิพลจักรวรรดินิยมตะวันตก ซึ่งตกค้างมาตั้งแต่รัชกาลก่อน ๆ
(3) ปัญหาสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่า ในระหว่าง พ.ศ.2463 - พ.ศ. 2474 เศรษฐกิจของประเทศตกต่า จนเป็นเหตุให้รัฐบาลต้องตัดทอนรายจ่ายลง มีการยุบหน่วยงานและปลดข้าราชการออก สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(4) ปัญหาสืบเนื่องจากการประกาศใช้กฎหมายการศึกษา คือพระราชบัญญัติประถมศึกษา ทาให้การศึกษาแพร่หลายออกไป แต่ขาดความพร้อมทางด้านงบประมาณการศึกษา






วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การศึกษาน่ารู้ คู่ชีวิต จิตแจ่มใส

                     การศึกษาน่ารู้ คู่ชีวิต จิตแจ่มใส


l การศึกษาคือ การสอนและการวัดผลแบบมีครูและตำราเป็นศูนย์กลาง และเน้นการท่องจำตามคำบรรยาย/ตำรา เป็นการเพิ่มพูนปริมาณองค์ความรู้แบบสำเร็จรูป และ/หรือl การศึกษาคือ กระบวนการเรียนรู้ (Learning process) ซึ่งประกอบด้วย การคัดเลือก การตีความสร้างสรรค์ และนำความรู้ใหม่ของผู้เรียนแต่ละคน ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต การแก้ปัญหา และการทำงานต่างๆ
 ใครผิด?
l ครูและพ่อแม่ ทำให้เด็กไม่เกิดความภาคภูมิใจ (Low self esteem) จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการเรียนรู้ของเด็กl หลายคนอาจ เขลา (Ignorant) คือ ยังไม่ได้รับรู้ หรือยังไม่เข้าใจเรื่องความรู้บางอย่าง แต่ไม่แปลว่า เขาโง่ (Stupid) จนเรียนไม่ได้
l การเรียนรู้ เป็นการพัฒนาการอย่างมีขั้นตอนตามลำดับ นักเรียนที่เรียนไม่เก่ง ไม่เข้าใจตั้งแต่ต้น จึงเรียนตอนต่อๆไปไม่เข้าใจ ต้องมีคนช่วยสอนหรือกำกับ วิธีการไหนดีที่สุด            คงไม่มีคำตอบใดชัดเจนว่า วิธีใดจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะแต่ละวิธีก็มีข้อจำกัดและเหตุปัจจัยที่เอื้อต่างกัน บางครั้งอาจจะต้องใช้หลายวิธีผสมกันก็ได้ ทั้งนี้ต้องเลือกวิธีที่เหมาะกับผู้เรียน มีความเชื่อหรือได้ทดลองกันแล้วว่า สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ สิบมือคลำไม่เท่า.....หรือดูได้จาก Learning Pyramid

ปรัชญาการศึกษาน่าค้นหา สาระน่ารู้ สู่เยาวชน

                                           ปรัชญาการศึกษาน่าค้นหา สาระน่ารู้ สู่เยาวชน



การศึกษา หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และทัศนคติของคนรุ่นก่อนให้กับอนุชนรุ่นหลังของสังคม ทั้งนี้เพราะ อนุชนรุ่นหลังคงไม่อาจเติบโตไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ถ้าไม่ได้ดูดซับความเชื่อเกี่ยวกับโลกทัศน์ และทักษะในการดำรงชีวิตและแก้ปัญหาของผู้ใหญ่ ก่อนที่การศึกษาจะกลายมาเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องกระทำด้วย
ความตั้งใจและเป็นทางการ และเป็นระบบ โดยมีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง คือ พระหรือนักปราชญ์ หรือนักวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบนั้น

คนในสมัยโบราณก็มีการให้การศึกษาแก่เด็กในสังคมของเขาเหมือนกัน แต่การให้การศึกษาของคนสมัยก่อนเป็นไปในลักษณะของการถ่ายทอดให้เกิดการเรียนรู้ใน
ชีวิตประจำวันโดยอัตโนมัติ เช่น การสอนการดำรงชีพ โดยการสอนการจับปลาและการเพาะปลูก รวมทั้งการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางสังคม เช่น พิธีศพ การศึกษาใน
ลักษณะดังกล่าวไม่ใช่การศึกษาแบบเป็นทางการ ไม่ใช่การศึกษาที่เป็นระบบ และไม่ใช่กระบวนการที่จงใจกระทำขึ้นเพื่อการเรียนรู้ จึงไม่มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่ง
ทำหน้าที่รับผิดชอบต่อเรื่องการศึกษาดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม เมื่อมนุษย์ได้สะสมอารยธรรมมากขึ้น การถ่ายทอดและการเรียนรู้ให้กับอนุชนรุ่นหลังของสังคมไม่อาจเป็นไปในลักษณะไม่เป็นทางการดังเดิมได้ การศึกษาจึงต้องกลายมาเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องกระทำด้วยความตั้งใจและเป็นทางการ โดยมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งก้าวเข้ามาทำหน้าที่รับผิดชอบแทน กลุ่มบุคคล
กลุ่มนี้อาจจะเป็นพระ หรือนักปราชญ์ หรือนักวิชาการ


ผลจากการที่รวมการถ่ายทอดวัฒนธรรมไว้ในมือของคนกลุ่มพิเศษกลุ่มหนึ่ง ก็คือ คนกลุ่มนี้ได้พยายามทำให้วัฒนธรรมและความรู้ที่ต้องถ่ายทอดดีขึ้น บริสุทธิ์ขึ้น นั่นก็คือ การทำให้เกิดการค้นคว้าวิจัยทางด้านความรู้และวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น

ผลประการที่ 2 คือ กลุ่มบุคคลผู้รับผิดชอบกับการสอนเริ่มมองเห็นว่า การสอนหรือการถ่ายทอดวัฒนธรรมของเขา หรือการให้การศึกษาของเขาต้องสนองเป้าหมาย
บางอย่าง การศึกษาจึงไม่เป็นเพียงการรักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรมเท่านั้น แต่การศึกษาควรสนองตอบเป้าหมายบางอย่างนี้ด้วยเป้าหมายของการศึกษาควร
เป็นอะไร   นี่แหละ คือ ปัญหาที่อยู่ในขอบเขตของนักปรัชญาที่จะให้คำตอบ ดังนั้น ปรัชญาการศึกษา คือ ปรัชญาในส่วนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหา เป้าหมายของ
การศึกษาของสังคมโดยพยายามตอบคำถามที่ว่า เป้าหมายหรือผลที่พึงประสงค์ที่จะก่อให้เกิดกับผู้เรียนนั้นควรจะเป็นอะไร ? และเป้าหมายดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ ? เมื่อตอบคำถามถึงเป้าหมายของการศึกษาเสียแล้ว ก็สามารถตอบคำถามต่อไปได้ว่า ความรู้ใด ทัศนคติใด ทักษะใด ควรได้รับการถ่ายทอดให้แก่เขาเหล่านั้น รวมทั้งมรรควิธีให้การศึกษาจะนำไปสู่เป้าหมายนั้นด้วย

ปรัชญาน่ารู้


                                     ปรัชญาน่ารู้

คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่า Φιλοσοφία ฟีโลโซเฟีย ในภาษากรีกโบราณ ซึ่งแยกได้เป็นคำว่า φιλεῖν ฟีเลน แปลว่าความรัก และ σοφία โซเฟียแปลว่าความรู้ เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า "การรักในความรู้" หรือ ปรารถนาจะเข้าถึงความรู้หรือปัญญา
ปรัชญา ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และหลักแห่งความจริง กล่าวคือ ในบรรดาความรู้ทั้งหลายของมนุษยชาตินั้น อาจแบ่งได้เป็นสองเรื่องใหญ่ ๆ
เรื่องที่หนึ่ง คือ เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ฟิสิกส์ มีเป้าหมายในการศึกษาเพื่อหาความจริงต่าง ๆ และเข้าใจในธรรมชาติมากกว่าสิ่งรอบตัวเพราะรวมไปถึงจักรวาลทั้งหมดอย่างลึกซึ้ง ชีววิทยา มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย เคมี มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับธาตุและองค์ประกอบของธาตุ เป็นต้น
เรื่องที่สอง คือ เรื่องเกี่ยวกับสังคม เช่น เศรษฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจของสังคม รัฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองของสังคม นิติศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบกฎหมายของสังคม เป็นต้น
เป้าหมายในการศึกษาของปรัชญา คือการครอบคลุมความรู้และความจริงในทุกศาสตร์และในทุกสาขาความรู้ของมนุษย์ รวมทั้งชีวิตประจำวันของตนด้วย ผลจากการศึกษาของปรัชญาก็สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ ผู้รอบรู้ด้านปรัชญามักขนานนามว่า นักปรัชญา ปราชญ์ หรือ นักปราชญ์